การรับขายฝากบ้าน มีขั้นตอนอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไร มาดูกัน

เชื่อเลยว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องของการรับขายฝากบ้านกันมาบ้างแล้ว เพราะปัจจุบันนี้การขายฝากบ้านเป็นที่นิยม และผู้คนมากมายเลือกใช้บริการกัน ทำให้มีนายหน้าที่ให้บริการด้านนี้เต็มไปหมด โดยการขายฝากก็เป็นการทำสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่ง ที่กรรมสิทธิ์ของทรัพย์จะถูกโอนไปยังคนที่ซื้อ แต่คนที่ขายสามารถไถ่ถอนคืนได้ในภายหลังเมื่อถึงระยะเวลาที่ครบสัญญา ซึ่งหากปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนเกิดสัญญาก็จะไม่สามารถไถ่ถอนคืนได้ นั่นจึงกลายเป็นว่าทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ที่ซื้อโดยสมบูรณ์นั่นเอง ทั้งนี้หลาย ๆ คนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าแล้วการขายฝากบ้านนั้นต้องทำอย่างไร แล้วมีเอกสารอะไรบ้าง ในบทความนี้จะมาบอกกัน 

ขั้นตอนของการรับขายฝากบ้านต้องทำอย่างไรบ้าง 

1. สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ นายหน้าที่รับขายฝากบ้านจะต้องไปดูที่ดิน บ้าน หรือหลักทรัพย์ที่ทางลูกค้าต้องการที่จะขายฝาก 

2. เมื่อดูสินทรัพย์กันเรียบร้อยแล้ว จะต้องตกลงในส่วนของราคาที่ต้องการกัน จากนั้นจึงไปที่กรมที่ดิน เพื่อทำสัญญา 

3. หลังจากที่ทำสัญญาการขายฝากบ้านเรียบร้อยแล้ว ทางลูกค้าก็จะได้รับเงินสดไปในทันที 

4. ดอกเบี้ยของการขายฝากจะต้องอยู่ที่ไม่เกิน 15% ต่อไป ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย หรือตามที่ตกลงกันเอาไว้ 

5. ลูกหนี้จะต้องทำหน้าที่ในการจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน จนกว่าจะถึงกำหนดการไถ่ถอน 

6. หากว่าครบสัญญาที่เรียบร้อยแล้ว สามารถทำการไถ่ถอนบ้านคืนจากกรมที่ดินได้เลย 

เอกสารที่จำเป็นต้องให้กับนายหน้ารับขายฝากบ้าน เมื่อจะทำการขายฝากบ้าน 

เอกสารที่ต้องใช้เมื่อจะให้นายหน้ารับขายฝากบ้านทำหน้าที่ขายฝากบ้านให้ มีเอกสารที่สำคัญอยู่ทั้งหมด 12 อย่างด้วยกัน ดังต่อไปนี้ 

1. โฉนดที่ดินตัวจริง 

2. บัตรประชาชนตัวจริง 

3. เอกสารการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสกุล (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) 

4. ทะเบียนบ้านตัวจริง (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเลขที่บ้าน จะต้องใช้เอกสารการเปลี่ยนบ้านเลขที่ด้วย) 

5. ใบทะเบียนสมรส (หากเกิดกรณีที่มีการหย่ากันขึ้น ให้ทำการจัดเตรียมใบหย่าและใบแนบท้ายใบหย่าให้ด้วย) 

6. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ณ กรมที่ดิน 

7. ค่าธรรมเนียมที่ทางกรมที่ดินจะเรียกเก็บ 

8. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หัก ณ ที่จ่าย) 

9. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม หรือค่าโอน จำนวน 2% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย ซึ่งต้องมาดูว่าราคาของอันไหนสูงมากกว่ากัน 

10. ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง โดยจะอยู่ที่ร้อยละ 1 % 

11. ค่าอากรแสตมป์ 

12. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนในการขายฝากบ้าน และเอกสารที่ต้องใช้เมื่อต้องการขายฝากบ้านนั่นเอง โดยทุกวันนี้การขายฝากบ้านสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านทางนายหน้าที่รับขายฝากบ้าน แต่เนื่องจากว่ามีผู้ให้บริการเยอะ ก็จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังการเลือกนายหน้าให้ดี เพื่อไม่เกิดต้องเจอกับนายหน้าที่ไม่ดี หรือไม่มีจรรยาบรรณนั่นเอง